โรงพยาบาลครบุรี เดิมเป็นเพียงสำนักงานผดุงครรภ์ มีที่ทำการเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ตั้งติดกับสถานีตำรวจภูธร อำเภอครบุรีหลังเก่าซึ่งอยู่ติดกับบริษัทครบุรีเดินรถจำกัด ซึ่งมีปัญหาคับแคบ ไม่สามารถบริการแก่ประชาชนได้ |
||||||||||||||||||||
ทั่วถึง ต่อมา พ.ศ. 2506 นายนิยม รุ่งเรือง บริจาคบ้านพร้อมที่ดิน จำนวน 4 ไร่ ติดกับลำแชะ (ปัจจุบัน เป็น หน่วยควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลง) ต่อมาได้ยกฐานะ เป็นสถานีอนามัยชั้น 1 โดยมี ีนายแพทย์วิรัตน์ วาที เป็นแพทย์ประจำคนแรก |
||||||||||||||||||||
พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณจัดสร้างเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย โดยขอ สถานที่จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียนมัธยมครบุรีเดิม) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2518 ต่อมา พ.ศ. 2521 ทางราชการได้ เปลี่ยนจากศูนย์แพทย์และอนามัย เป็น โรงพยาบาลขนาด 10 เตียง |
||||||||||||||||||||
พ.ศ. 2527 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณ การก่อสร้าง โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง โดยขอที่ดิน สาธารณประโยชน์ จาก สภาตำบลแชะ จำนวน 30 ไร่ 56 ตารางวา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2528 ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2529 รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,242,839 บาท |
||||||||||||||||||||
ต่อมาใน พ.ศ. 2530 บรรดาพ่อค้า ประชาชน ข้าราชการและคณะสงฆ์ได้ร่วมสละทรัพย์ แรงกาย และ แรงใจ สร้างอาคารพยาบาลสงฆ์หลวงปู่นิล สิ้นค่าใช้จ่ายล้านกว่าบาท เพื่อ 1. เป็นสถานพยาบาลของสงฆ์ 2. ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนไข้ทั่วไป เพื่อให้คุ้มค่า และสมเจตจำนงค์ของหลวงปู่นิล ที่ต้องการช่วยเหลือ คนยากจนทั่วไป 3. เป็นอนุสรณ์สถาน ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ 5 รอบ 4. เพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงความกตัญญูกตเวทิคุณต่อหลวงปู่นิล ซึ่งในปี พ.ศ. 2537 ได้รับเป็นองค์อุปถัม ในการสร้างตึกนครธรรมโฆษิต ปัจจุบันเป็นที่ทำการของฝ่ายทันตกรรม, ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ , สำนักงานพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอครบุรี, และห้องประชุมปรางค์ครบุรี พ.ศ. 2538 ได้สร้างอาคารพยาบาลผู้ป่วยใน 1 อาคาร ใช้งบประมาณ 3,873,378.60 บาท พ.ศ. 2539 ได้ทำการปรับปรุงตึกผู้ป่วยนอก เพื่อขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้พร้อมรับจำนวนผู้บริการได้มากขึ้น โรงพยาบาลครบุรีได้เลื่อนฐานะจากโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงเป็นขนาด 60 เตียง เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2540 |